วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คำพ่อสอน




พระราชดำรัสเกี่ยวกับความพอประมาณ
"...คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย
เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย
ถ้าทุกประเทศมีความคิด อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ
มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง
หมายความว่า...
พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภมาก
คนเราก็อยู่เป็นสุข
พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้
แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น
ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ
พูดจาก็พอเพียงทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง..."

ที่มา : พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆที่มาเข้าเฝ้า ถวายชัยมงคล
เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต

ความพอประมาณสอดคล้องกับหลักธรรม มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ 
(ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ)จะทำสิ่งใดใดหลายสถาน รู้ประมาณตามที่ดีหนักหนา 

ควรไม่ควรกาลใดใช้ปัญญา รู้คุณค่าแห่งธรรม์มัตตัญญูยังประโยชน์ยิ่งใหญ่ให้สัมฤทธิ์ สำเร็จกิจปรากฏไม่อดสูประโยชน์ตั้งยั่งยืนน่าชื่นชู มัตตัญญูนำผลให้พ้นภัย





พระราชดำรัสเกี่ยวกับความมีเหตุผล
"...การจะคิดพิจารณาและวิเคราะห์วิจารณ์กรณีต่างๆ
ให้ได้ถูกถ้วน ตามเหตุตามผลและความเป็นจริงนั้น
บุคคลจำเป็นต้องฝึกจิตจิตใจให้มีปรกติ หนักแน่นและเป็นกลาง
พร้อมทั้งฝึกกระบวนการคิดให้เป็นระเบียบให้ได้ก่อน
ทั้งนี้เพราะจิตใจที่ไม่หนักแน่นเป็นกลาง
เป็นต้นเหตุให้เกิดอคติหรือการปฏิบัติที่ไม่ถูกทาง
อันเป็นตัวการสำคัญที่นำความคิดวิจารณญาณของบุคคล
ให้มืดมนผิดพลาดไปจากเหตุผลและความเป็นจริง
ส่วนความคิดอ่านที่ไม่เป็นระเบียบนั้น
เป็นต้นเหตุของความลังเลสับสนและวุ่นวายใจ
ทำให้บุคคลไม่สามารถจะคิดอ่านทำการใดๆ
ให้ถูกต้องตามขั้นตอน และสำเร็จเรียบร้อยโดยไม่ติดขัดได้..."

ที่มา : พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2534


ความมีเหตุผลสอดคล้องกับหลักธรรมโยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี
 คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย พยายามทำความเข้าใจสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบ และโดยอุบายวิธีให้เข้าใจสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย






พระราชดำรัสเกี่ยวการมีภูมิคุ้มกันตัวที่ดี
"...ตามประวัติศาสตร์ของเรา
จะเห็นได้ว่า
คราวใดที่ชาวไทยมีความสามัคคี
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ชาติก็รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความเจริญรุ่งเรือง
แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน
ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมทั้งชาติ..."

ที่มา : พระบรมราโชวามในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนามของทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต วันที่ 3 ธันวาคม 2505

การมีภูมิคุ้มกันตัวที่ดีสอดคล้องกับหลักธรรมอัปปมาทธรรม 
คือ องค์ประกอบในฐานะที่เป็นเครื่องกำกับการพัฒนาตน
(เปรียบเหมือนพวงมาลัย) เป็นเรื่องของการดำเนินกิจกรรมโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับ ไม่ให้ตกต่ำและเสื่อมถอย มีการกระทำอย่างระมัดระวังตัว รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป เป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดคุณลักษณะที่สามของความพอเพียง คือ การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี



ผู้จัดทำ นางสาวมณีรัตน์  งอยปัดพันธ์
รหัสนิสิต 57040487

คณะศึกษาศาสตร์  สาขาการสอนภาษาจีน